วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

พระเจ้าล้านตื้อ-วัตถุโบราณ พระพุทธรูปล้านนา

เชียงราย – ทีมค้นหา “พระเจ้าล้านตื้อ-วัตถุโบราณ” กลางแม่น้ำโขง ต้องเลิกกะทันหัน สปป.ลาว ไม่ให้ขึ้นเกาะที่โผล่ขึ้นมาหลังน้ำแห้ง อ้างผิดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ขณะที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้มีพระพุทธรูปเก่าแก่จมใต้แม่น้ำโขงจริง กลุ่มสภาวัฒนธรรมฯ เตรียมขอกรมศิลป์ส่งทีมช่วยอีกรอบในฤดูฝน เมื่อน้ำท่วมเกาะ

รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า ระหว่างวันที่ 11-13 พ.ค. 2552 กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับประชาชนชาวเชียงแสนโดยมีสภาวัฒนธรรม อ.เชียงแสน เป็นหน่วยงานประสานงานมีกำหนดทำการค้นหาโบราณวัตถุกลางแม่น้ำโขงบริเวณด้าน หน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน หลังจากเมื่อเดือน มิ.ย.2549 กรมทรัพยากรธรณีเคยนำเรือและเครื่องโซน่า เข้าค้นหาโบราณวัตถุตามคำบอกเล่าและหลักฐานพระรัศมีสัมริด ของพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 70 เซ็นติเมตร เมื่อคำนวณว่า จากพระรัศมีดังกล่าวพบว่า จะได้องค์พระพุทธรูปสูงถึง 9 เมตร ซึ่งตามประวัติเรียกขานชื่อกันว่า “พระเจ้าทองทิพหรือพระเจ้าล้านตื้อ” จนพบวัตถุต้องสงสัยที่ไม่ใช่มาจากธรรมชาติมาก่อนหน้านี้แล้ว

อย่างไรก็ตาม หลังการค้นหา 1 วันที่ผ่านมา คณะจากกรมทรัพยากรธรณีและชาวบ้านที่ไปมุงดูหลายร้อยคนต่างก็ต้องผิดหวัง เพราะจุดที่กรมทรัพยากรธรณีเคยกำหนดเอาไว้ว่า พบวัตถุต้องสงสัยใต้น้ำ ในปัจจุบันกลับมีสภาพเป็นเกาะทรายกว้าง อันเกิดจากการเกาะกันของตะกอนดินทรายกลางแม่น้ำโขง และตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ก็ระบุให้เกาะกลางแม่น้ำโขงเป็นของ สปป.ลาว ด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปค้นหาบริเวณดังกล่าวได้ ทั้งๆ ที่ได้มีการนำเครื่องมือขุดเจาะไปแล้ว แต่ทางเจ้าหน้าที่ สปป.ลาว ก็ไม่อนุญาตให้ขึ้นไปบนเกาะแต่อย่างใด

ด้าน นายบุญส่ง เชื้อเจ็ดตน ประธานสภาวัฒนธรรม อ.เชียงแสน กล่าวว่า หลังจากทำพิธีบวงสรวงกันตามประเพณีแล้วกรมทรัพยากรธรณี ซึ่งเดินทางไปค้นหาพระเจ้าล้านตื้อที่หน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน หลายครั้ง ก็เริ่มนำเครื่องมือที่ทันสมัยลงไปหาในน้ำ และเตรียมเครื่องมือทางบกเอาไว้ด้วย แต่ปรากฏว่าจุดที่เคยกำหนดเอาไว้ว่าเคยพบวัตถุที่เชื่อว่าจะเป็นพระเจ้าล้าน ตื้อ กลับเป็นเกาะกลางแม่น้ำโขงไปเสีย จึงนับว่าน่าเสียดายอย่างมาก เพราะเราใกล้ความจริงมาทุกขณะ แต่ก็ต้องยกเลิกไป ดังนั้นตนในฐานะชาวเชียงแสน จะขอให้ทางกรมทรัพยากรธรณีนำเครื่องมือกลับไปสำรวจหาอีกครั้งในเดือน ก.ย.-ต.ค. 2552 เพราะเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมเกาะจนหมดทำให้สามารถแล่นเรือไปได้โดยไม่ต้องติดเรื่องสนธิสัญญา ระหว่างประเทศ

นายบุญส่งกล่าวอีกว่า จุดที่เจ้าหน้าที่กำหนดเอาไว้จากการใช้โซน่าห่างจากเรือกลางแม่น้ำโขงเพียง ประมาณ 100 เมตรเท่านั้น หากเจ้าหน้าที่ สปป.ลาว ยินยอมก็จะใช้เวลาค้นหาเพียงแค่ 1 วันก็จะเห็นผลแล้ว แต่เมื่อไม่ยินยอมก็ทำให้คณะต้องค้นหาจุดอื่นตั้งแต่หน้าวัดผ้าขาวป้านไปจน ถึงบริเวณท่าเรือเชียงแสน ซึ่งก็ไม่พบสิ่งใดเพราะไม่ใช่จุดที่เครื่องโซน่าฉายพบวัตถุต้องสงสัย ดังนั้นจึงได้แต่หวังว่าทางเจ้าหน้าที่ไทยจะเห็นความสำคัญ เข้ามาดำเนินการอีกครั้งเพราะใกล้ความจริงเข้ามาแล้ว

รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ผ่านมาปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน ได้ระบุข้อความภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสนว่า ชาวเชียงแสนซึ่งตั้งถิ่นฐานมานาน 25-65 ปี เชื่อว่าบริเวณหน้าเมืองเชียงแสน มีพระเจ้าล้านตื้อหรือพระเจ้าทองทิพ จมอยู่กลางแม่น้ำโขงตามที่บรรพบุรุษเคยเล่าให้ฟัง และการค้นหาพระเจ้าล้านตื้อ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 โดยพรานหาปลาที่ทอดแหและได้เห็นเศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่โผล่ขึ้นมากลางน้ำ แต่ไม่มีพระรัศมีบนพระเกตุมาลา สอดคล้องกับหลักฐานที่ค้นพบเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน ซึ่งเป็นพระรัศมีสำริดขนาดใหญ่ ที่นำไปเก็บรักษาไว้ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสนดังกล่าว

จากนั้นก็มีค้นหาตามประสาชาวบ้าน และปรากฏเรื่องราวปาฏิหาริย์หลายครั้ง เช่น เรือของเจ้าหน้าที่ ที่ไปค้นหาบริเวณดังกล่าวถูกแรงดันให้เรือถอยออกมา เกิดฝนฟ้าตกคะนองเมื่อเข้าใกล้จุดดังกล่าว เป็นต้น

รายงานข่าวแจ้งอีกว่าเอกสารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสนสรุปอีกว่า เรื่องนี้ถูกเล่าขานจากชาวเชียงแสนและคนต่างถิ่นสืบทอดกันมานานจึงมิใช่ ตำนานหรือนิทานพื้นบ้าน และสันนิษฐานได้ว่าพระเจ้าทองทิพ หรือพระเจ้าล้านตื้อ รวมทั้งโบราณวัตถุต่างๆ เคยอยู่บนเกาะดอนแท่นหรือเกาะดอนแห้ง กลางแม่น้ำโขง หน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน จริง แต่เกาะได้ล่มลงก่อนที่จะมีการทำสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เรื่องการแบ่งปันเขตแดน เมื่อปี พ.ศ.2469 และช่วงรัชกาลที่ 1 ก็มีการเผาเมืองจนร้างจึงทำให้เหลือหลักฐานอยู่น้อยมาก

นอกจากนี้ยังมีตำนานและพงศาวดารเกี่ยวกับเมืองเชียงแสนเมื่อประมาณ 500-700 ปี เคยระบุถึงเกาะดอนแท่นกลางแม่น้ำโขงหลายครั้ง เช่น พระเจ้าแสนภูสร้างเมืองเชียงแสนทรงประทับอยู่ในวังบนเกาะดอนแท่น ที่บริเวณหน้าเมืองเชียงแสน จนสวรรคตและตั้งพระบรมศพบนเกาะดอนแท่นระยะหนึ่ง หรือสมัยพระเจ้ากือนา ของเมืองเชียงใหม่ ทรงนำพระสีหลปฏิมาทำพิธีอภิเษกพระบนเกาะดอนแท่น แล้วนำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดพระสิงห์ จ.เชียงราย เป็นต้น แต่ต่อมาเกาะดอนแท่นพังทลายลงในแม่น้ำโขงเมื่อใดไม่มีผู้ใดทราบ เนื่องจากเมืองเชียงแสนร้างไปตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่ 5 จึงคาดว่าจะล่มสลายลงในช่วงเวลาดังกล่าว

ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Loca/ViewNews.aspx?NewsID=9520000052680

พระพุทธรูปล้านนา ประวัติพระเชียงแสน สิงห์ 1

พระพุทธรูปล้านนา ประวัติพระเชียงแสน สิงห์ 1ลำน้ำโขงเป็นสายน้ำใหญ่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนสองฝากฝั่ง สายน้ำไหลเชี่ยว ดุดัน จากจีน มุ่งผ่าน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ประวัติศาสตร์ ของชาติต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง จึงหนีไม่พ้นสายน้ำแห่งนี้

น้ำโขงไหลผ่านทวีปนี้ราวกับมีชีวิต 10 ปี ไหลไปทางหนึ่ง 100 ปี ไหลไปอีกทางหนึ่ง เปลี่ยนทางไปอีกทางหนึ่ง มีตำนานเล่าว่าถึงเกาะเก่าแก่กลางลำแม่น้ำโขง “เกาะดอนแท่น” เดิมทีเป็นผืนดินในไทยโดยเป็นทีอาศัยของผู้คนเชียงแสนในยุคก่อน เกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งของวัดกว่า 10 วัด ตามที่ระบุไว้ในพงศาวดาร เมืองเงินยางเชียงแสนภาคที่ 61 ที่สำคัญยังเป็นที่ตั้งของ วัดพระเจ้าทองทิพย์ อันเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระพทุธรูปสำริดขนาดใหย่ ซึ่งชาวบ้านกล่าวขานนามว่า “พระเจ้าล้านตื้อ คำว่า ตื้อ คือมาตราวัดของชาวล้านนา หมายถึงโกฏิ ดังนั้นคำว่า "ล้านตื้อ" ก็หมายถึงองค์พระนี้มีขนาดและน้ำหนักมาก สันนิฐานว่าองค์พระคงจมลงไปพร้อมกับเการะดอนแท่น ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณน้ำโขงหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน
ประจักษ์พยานที่ชัดเจนคือ พระรัศมีพระเจ้าล้านตื้อ ซึ่งมีขนาดกว้าง 55 CM สูง 70 CM คาดกันว่าพระรัศมีถูกงมขึ้นมาก่อนปี พ.ศ.2446 และมีการประมาณว่าพระเจ้าล้านตื้อหากมีอยู่จริง หน้าตักคงกว้างประมาณราว 8.5 m สูง 10 m

อย่างไรก็ตามคำเล่าขานจึงไม่ใช่เรื่องที่ฝังนิ่งอยู่ในตำนานแต่เป็น เรื่องจริงต้องรอคอยว่าวันหนึ่งองค์พระเจ้าล้านตื้อจะกลับมาสู่เมือง วิธีการกลับคืนมาสู่เมืองจะเป็นอย่างไร คงต้องรอติดตามอย่างใจจดใจจ่อ ส่วนจะกลับมาในรุ่นเรา รุ่นลูก หรือรุ่นหลาน หรือกว่านั้น ก็ต้องรอคอยด้วยในอันศรัทธาเหมือนกัน

ตามรอยพระเจ้าล้านตื้อ
จากคำบอกเล่าของชาวเชียงแสน ที่บรรทุกไว้ในหนังสือตามรอยพระเจ้าล้านทองทิพ (พระเจ้าล้านตื้อ) ประวัติศาสตร์ลำน้ำโขงเมืองเชียงแสน (หาซื้อได้ ที่พิพิธภันฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน กล่าวว่าคืนพบพระพุทธรูปกลางลำน้ำโขงครั้งแรกเมือราวปี พ.ศ.2479 พรานหาปลา ผู้หนึ่งทอดแหหาปลาอยู่กลางน้ำโขงบริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเชียงแสนได้ เห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่โพล่ขึ้นมากลางน้ำจำได้ว่ามีพระรัศมีบนพระเกศาและ เห็นส่วนพระเศียรเพียงแค่พระหนุ แต่อย่างไรก็ตาม การพบเห็นของพรานปลาผู้นั้นขัดกับหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ที่ว่าการค้นพบพระรัศมีนั้นพบก่อน ปี พ.ศ.2446 เมื่อครั้งแรกได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดคว้าง (หลังตลาดเชียงแสน) ต่อมาย้ายไปรักษาที่วัดปงสนุก และวัดมุงเมืองตามลำดับ เมื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ เสร็จจึงนำออกแสดงจนมาถึงทุกวันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.2488 มีพรานปลาอีกคนหนึ่งพบเสาวิหารขนาดใหญ่จำนวน 2-3 ต้นล้มทับกันจมอยู่ในน้ำโขง ลึกราว 4 เมตร ที่บริเวณสามแยกหน้าสถานีตำรวจ

ครั้นถึงปี พ.ศ.2492–2493 เพียสมบูรณ์ (ชาวลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐานในอำเภอเชียงแสน) ฝันว่าพระพุทธรูปล้มคว่ำพระเศียรลง หันไปทางทิศใต้ ดังนั้นราวเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม ของปีเดียวกันนั้นจึงมีการลงคลำหาพระพุทธรูปกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากตั้งศาลเพียงตาขึ้นในบริเวณเกาะดอนแท่นและทำพิธีบวงสรวงพระพุทธรูป เตรียมเรือเหล็กขนาดใหญ่ 2 ลำ พร้อมช้าง 3-4 เชือก นิมนต์พระสงฆ์ทำพิธี เนื่องจากกระแสน้ำแรงและเย็นมากจึงไม่อาจพบพระรูปแต่อย่างใด

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์–เดือนมีนาคม พ.ศ.2509 อิตาเลียน–ไทย จำกัด ได้สัมปทานการสร้างสนามบินในหลวงพระบาง มาพักอยู่ที่เชียงแสน (สมัยนั้นการเดินทางไปหลวงพระบางต้องใช้วิธีการเดินเรือจากเชียงแสนไปถึงจะสะดวกที่สุด) นายชูสง่า ไชยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ขณะนั้นจึงได้ให้ทางบริษัทฯ ดังกล่าว ส่งนักประดาน้ำและอุปกรณ์ต่างๆเพื่อค้นหาและกู้เอาพระพุทธรูปขึ้นมา ซึ่งเป็นจุดที่เกาะกลางน้ำตรงหน้าสถานีตำรวจบริเวณดังกล่าวเป็นน้ำวน เชี่ยวมาก นักประดาน้ำทนความเย็นไม่ไหว การค้นหาในตอนนั้นจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ได้เพียงพระพุทธรูปองค์เล็ก และโบราณวัตถุอื่นๆอีกเพียงเล็กน้อยจึงหยุดค้นหา
       
การค้นหาพระพุทธรูปที่จมอยู่ในลำน้ำโขง ตั้งแต่การพบครั้งแรกจนกระทั้งถึงทุกวันนี้กว่า 70 ปีแล้วเรื่องราวยังเป็นที่สนใจและถูกเล่าขานผ่านลูกหลานชาวเชียงแสน เมื่อสืบทอดผ่านกันมาจึงกลายเป็นตำนานและนิทานพื้นบ้าน

พระพุทธรูปนวล้านตื้อ (จำลอง)
พระพุทธรูปสีทองขนาดใหญ่ น้ำหนัก 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 เมตร สูง 15.99 เมตร ประทับอยู่บนเรือนแก้วกุศลธรรมขนาดใหญ่
พระพุทธนวล้านตื้น องค์นี้สร้างขึ้นแทนองค์เดิมที่จมลงแม่น้ำโขง หน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน สมัยรัชกาลที่ 3
และสร้างขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองด้วยบุศราคัม น้ำหนักถึง 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 ม.สูง 15.99 ม. ประทับนั่งบน "เรือแก้วกุศลธรรม" ขนาดใหญ่ พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างตุงหลวง สูง 17.99 ม. ศูนย์ OTOP ล้านนา ซุ้มประตูโขงและพระมหาโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว สูง 9.99 ม.) ทั้งหมดนี้ได้ใช้งบประมาณถึง 69 ล้านบาท

ที่มา
นิตยสารแนะนำการท่องเที่ยวเชียงรายไกด์บุ๊ค ฉบับที่ 5 เล่มที่ 51 ประจำเดือน มีนาคม 2549

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563

ขอต้อนรับเข้าสู่ อาณาจักรความรู้ ของพระพุทธรูปล้านนา

ขอต้อนรับเข้าสู่ อาณาจักรความรู้ ของพระพุทธรูปล้านนา
ยินดีเจิ้นแล้วปี๋แก้วมาเยือน กราบสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ยินดีมาเสนอความรู้เกร็ดเล็กเกล็ดน้อย รวบรวมมาในเวปแห่งนี้แล้ว หวังเป็นอย่างยิ่ง ขอให้ทุกท่าน ได้รับประโยชน์ความรู้และความบันเทิงในการอ่าน และได้พระพุทธรูปดีๆน่าเลื่อมใสไว้ในครอบครอบครับ พระพุทธรูปบางองค์เรายังไม่รู้จักเลยวันนี้ เราจะลงมาเพื่อเฉลยความสังสัยกันครับ แล้วพบกันเร็วๆนี้ครับ